ผลกระทบ ของ อุทกภัยในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561

สรุปปริมาณฝนในช่วงเหตุการณ์ 10 วันระหว่าง 28 มิ.ย. ถึง 8 ก.ค. (ในภาษาญี่ปุ่น)ปริมาณฝนตกสะสมสูงถึง 1,852.5 มม. ในหมู่บ้านอูมาจิ จังหวัดโคจิเขตมาบิ เมืองคูราชิกิ จังหวัดโอกายามะเขตมาบิ เมืองคูราชิกิ จังหวัดโอกายามะ

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แนวปะทะอากาศทซึยุ (ญี่ปุ่น: 梅雨; โรมาจิTsuyu, จีน: 梅雨; พินอิน: Méiyǔ) ตามฤดูกาลที่ขยายออกไปทางตะวันตกจากหย่อมความกดอากาศต่ำ (ชนิด Cold-core) ที่อยู่ใกล้กับฮอกไกโด ครอบคลุมอย่างคงที่ทั่วญี่ปุ่น ฝนตกหนักหลายรอบเกิดขึ้นในวันต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของเกาะคีวชู[6] เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณนำฝนตกหนักและลมแรงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น[7] ความชื้นพุ่งสูงขึ้นทางตอนเหนือจากที่พายุไต้ฝุ่นมีปฏิสัมพันธ์ และเพิ่มปริมาณฝนตามแนวปะทะในเกาะคีวชู, เกาะชิโกกุ และทางทิศตะวันตกและตอนกลางของเกาะฮอนชู[6] ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นขยายระยะไกลออกไปทางตะวันตกจนถึงจังหวัดโอกินาวะ[8] แถบพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณนี้มีปริมาณน้ำฝน 10 วันสะสมมากกว่า 400 มม. (16 นิ้ว)[6] อุทกภัยร้ายแรงเริ่มขึ้นในวันที่ 5 กรกฏาคมส่วนใหญ่ในภูมิภาคคันไซซึ่งเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรงเมื่อสามสัปดาห์ก่อน[9] ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดที่ 1,852.5 มม. (72.93 นิ้ว) บันทึกได้ในชิโกกุ[6]

หลาย ๆ พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุดที่เคยบันทึกได้ในหนึ่งชั่วโมงและในสามวัน[7] บางพื้นที่มีฝนมากกว่า 1,000 มม. (39 นิ้ว) ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ออกคำเตือนฝนตกหนักฉุกเฉิน[ก 1] สำหรับแปดจังหวัดได้แก่: โอกายามะ, ฮิโรชิมะ, ทตโตริ, ฟูกูโอกะ, ซางะ, นางาซากิ, เฮียวโงะ และ เกียวโต[10][11] ซึ่งเป็นการออกคำเตือนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นอธิบายว่า "ฝนตกหนักในระดับที่เราไม่เคยพบมาก่อน"[10]

ฝนหนักที่กระหน่ำลงมาก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันระดับน้ำสูงถึง 5 เมตร (16 ฟุต) ในพื้นที่ที่เลวร้ายที่สุด[11] เมืองโมโตยามะ ในจังหวัดโคจิวัดปริมาณน้ำฝนได้ 584 มม. (23.0 นิ้ว) ระหว่างวันที่ 6 และ 7 กรกฎาคม[12] เมืองหนึ่งในจังหวัดโคจิวัดปริมาณน้ำฝนได้ 263 มม. (10.4 นิ้ว) ในสองชั่วโมง[13] ภูเขาไฟองตาเกะ (ญี่ปุ่น: 御嶽山; โรมาจิOntake-san) มีปริมาณน้ำฝนที่สังเกตสามวันที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 655.5 มม. (25.81 นิ้ว)[7] ถึงแม้แม่น้ำยูระ (ญี่ปุ่น: 由良川) จะยังคงไม่ล้นตลิ่งในภาคเหนือของจังหวัดเกียวโต เขื่อนกั้นน้ำที่สร้างขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นโทกาเงะ (ญี่ปุ่น: トカゲ) ในปี พ.ศ. 2547 ป้องกันการไหลล้นของแม่น้ำ สิ่งที่นำไปสู่การเกิดน้ำท่วมในเมืองไมซุรุ เกิดขึ้นหลังจากมีการปิดประตูน้ำอย่างไม่ตั้งใจ[14]

เมื่อฝนลดลงในวันที่ 9 กรกฎาคม อุณหภูมิสูงถึง 30 °C (86 °F) โดยที่กว่า 11,200 ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องโรคลมเหตุร้อนและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด[15]

จังหวัดฮิโรชิมะเพียงแห่งเดียวมีโคลนถล่ม 1,243 แห่งในปี 2561 ซึ่งมากกว่ายอดรวมในปีเฉลี่ยของทั้งประเทศ จังหวัดเอฮิเมะมี 419 แห่งในปี 2561 บันทึกไม่ได้แยกตามเดือน แต่อนุมานว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ครั้งนี้[16]

ผู้ประสบภัย

บริเวณที่ได้รับผลกระทบโดยทั่วมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 225 คนในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝน[2] ส่วนใหญ่เนื่องจากโคลนถล่ม, ดินถล่ม และยานพาหนะที่ถูกพัดพาไปตามน้ำท่วม[17] ผู้เสียชีวิตหลายคนไม่สนใจคำสั่งอพยพและเลือกที่จะอยู่ในบ้านของพวกเขาแม้จะมีการเตือนซ้ำ ๆ[18] ตำรวจได้รับรายงานจำนวนมากทั่วประเทศที่ผู้คนถูกขังอยู่ในบ้านที่ถูกดินถล่มฝัง, คนถูกพัดพาไปตามแม่น้ำที่ท่วมท้น และจากผู้คนที่ติดอยู่ในรถยนต์ อย่างน้อยสิบคนถูกฝังอยู่ในบ้านในเมืองฮิงาชิฮิโรชิมะ จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม หน่วยกู้ภัยสามารถยืนยันว่ามีผู้รอดชีวิตเจ็ดคน แต่ยังคงถูกขังอยู่[19]

รายงานผู้เสียชีวิตและสูญหาย
เรียงตามจังหวัด
[20]
เกาะจังหวัดผู้เสียชีวิตผู้สูญหาย
ฮอนชูกิฟุ10
เฮียวโงะ20
ฮิโรชิมะ113
เกียวโต50
นารา10
โอกายามะ61
ชิงะ10
ทตโตริ10
ยามางูจิ30
คีวชูฟุกุโอกะ20
คาโงชิมะ20
มิยาซากิ10
ซางะ20
ชิโกกุเอฮิเมะ26
โคจิ30
ไม่สามารถระบุ013
รวม22513

เศรษฐกิจ

วันที่ 7 กรกฎาคมไม่มีรถไฟความเร็วสูงวิ่งไปทางตะวันตกของสถานีชินโอซากะและเจ้าหน้าที่บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก ก็ไม่แน่ใจว่ารถไฟจะวิ่งอีกครั้งเมื่อใด[21] การยกเลิกรถไฟอย่างกว้างขวางทำให้นักเดินทางจำนวนมากตกค้าง รถไฟหัวกระสุนบางขบวนถูกใช้เป็นโรงแรมชั่วคราว[19] ผู้ผลิตรถยนต์บางราย (มิตซูบิชิมอเตอร์ส และมาสดามอเตอร์ส) หยุดการผลิตเนื่องจากฝนและน้ำท่วมทำให้ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทหยุดชะงัก และเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคนงาน[18] บริษัทอื่น ๆ เช่นไดฮัทสุ และพานาโซนิค ระงับการดำเนินงานที่โรงงานจนกว่าจะมีการเก็บกวาดเศษขยะและระดับน้ำในโรงงานลดลง[15] โรงงานอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมของอาซาฮีในจังหวัดโอกายามะ เกิดการระเบิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมหลังจากที่พนักงานอพยพในช่วงน้ำท่วม[22]

บริษัทจัดส่ง ซางาวะเอ็กซ์เพรส และ ยามาโตะทรานสปอร์ต และบริษัทบริการขนส่งสินค้า แจแปนเฟรทเรลเวย์ รายงานว่าการขนส่งเข้าและออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบางส่วนได้ถูกลดหรือระงับชั่วคราว ซูเปอร์มาร์เก็ตในภูมิภาคก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยหน้าร้านหลายแห่งถูกปิดหรือลดชั่วโมงการให้บริการ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดส่งและ/หรือการขาดแคลนผลิตภัณฑ์[23]

ทั่วประเทศเสียหายอย่างมากและยาวนาน ความสูญเสียสูงถึงประมาณ 1.09 ล้านล้านเยน (3.27 แสนล้านบาท) ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตร, ป่าไม้ และการประมง มีมูลค่าถึง 629 พันล้านเยน (1.89 แสนล้านบาท) ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะรวมถึงเขื่อน, ทางรถไฟ และถนนมีมูลค่า 465 พันล้านเยน (1.39 แสนล้านบาท)[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุทกภัยในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561 http://www.abc.net.au/news/2018-07-08/japan-floodi... http://www.china.org.cn/world/Off_the_Wire/2018-07... http://www.xinhuanet.com/english/2018-08/06/c_1373... http://m.utusan.com.my/berita/nasional/malaysia-su... http://globalnation.inquirer.net/168315/news-rodri... //www.worldcat.org/issn/0447-5763 http://www.mfa.go.th/main/en/news3/6885/91595-Prim... http://www.friendsofpa.or.th/TH/article/%E0%B8%A1%... https://www.accuweather.com/en/weather-news/hundre... https://www.asahi.com/articles/ASL774QS5L77PTIL01H...